วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสารแบบใช้สาย เป็นอย่างไร

ตัวกลางการสื่อสารข้อมูลแบบมีสาย
  • สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)จะประกอบด้วยสายทองแดงสายคู่บิดเกลียว (twisted pair) แต่ละคู่สายทองแดงจะถูกพันกันตามมาตรฐานเพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ถึง 10 Hz หรือ 10 Hz เช่น สายคู่บิดเกลี่ยว 1 คู่ จะสามารถส่งสัญญาณเสียงได้ถึง 12 ช่องทาง สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสายด้วย กล่าวคือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่วนสูง โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจทัล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้หลายเมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางได้ไกลหลายกิโลเมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี แล้วน้ำหนักเบาง่ายต่อการติดตั้ง จึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างคือ สายโทรศัพท์ สายแบบนี้มี 2 ชนิดคือ
  • สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นดังรูป เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair :UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้นดังรูป mำให้สะดวกในการโค้งงอแต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก

  • สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน

  • สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable)ประกอบด้วยสายทองแดงมีฉนวนที่หุ้มด้วยฉนวนโลหะอย่างหนาอยู่ด้านนอก สายโคแอกถูกใช้เป็นสายโทรทัศน์ ฉนวนของสายโคแอกจะช่วยป้องกันการรบกวนทางไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีกว่าสายคู่ตีเกลียว นอกจากนั้นยังสามารถนำเสียงและข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง 200 Mbps การส่งข้อมูลผ่านสายโคแอกมีวิธีพื้นฐาน 2 วิธี ได้แก่
  • การส่งแบบเบสแบนด์ (baseband transmission)เป็นการส่งแบบอนาล๊อก และสายหนึ่งเส้นสามารถส่งได้เพียงหนึ่งสัญญาณเท่านั้นในเวลาเดียวกัน
  • การส่งแบบบรอดแบนด์ (broadband transmission)เป็นการส่งแบบดิจิทัล และสายหนึ่งเส้นสามารถส่งสัญญาณไปได้หลายสัญญาณในเวลาเดียวกัน


  • สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber Cable)เส้นใยนำแสง (fiber optic) เป็นการใช้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้ว ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมาก ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสงกับระบบอีเธอร์เน็ตจะใช้ได้ด้วยความเร็ว 10 เมกะบิต ถ้าใช้กับ FDDI จะใช้ได้ด้วยความเร็วสูงถึง 100 เมกะบิต เส้นใยนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด ดังนั้น จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร ระยะความยาวของเส้นใยนำแสงแต่ละเส้นใช้ความยาวได้ถึง 2 กิโลเมตร เส้นใยนำแสงจึงถูกนำไปใช้เป็นสายแกนหลัก เส้นใยนำแสงนี้จะมีบทบาทมากขึ้น เพราะมีแนวโน้มที่จะให้ความเร็วที่สูงมาก

  •  
    แหล่งที่มาhttp://reg.ksu.ac.th/teacher/songgrod/4123702/content/lesson2/202.html

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น