วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

Blog kib'vichchuta

ชื่อ นางสาว วิชชุตา พุ่มสงวน ชื่อเล่น กิ๊บ
รหัสนักศึกษา 554552147
หมู่เรียน55/98
คณะวิทยาการจัดการ
โปรแกรม นิเทศศาสตร์
สาขา วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
น่ารักง่ะ งิงิ ><

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

การออกกำลังกายและบริหารร่างกายสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์

การบริหารร่างกายในขณะใช้คอมพิวเตอร์

  1. Deep Breathing หรือการทำสมาธิ
  • Deep Breathing หรือการทำสมาธิ
  • ขณะยืนหรือนั่ง
  • มือข้างหนึ่งวางไว้บนท้อง อีกครั้งหนึ่งวางไว้บนอก
  • หายใจเข้าทางจมูก
  • กลั้นไว้ 4 วินาที
  • หายใจออกทางปาก
  • ทำซ้ำๆกัน

  1. Sidebend: Neck Stretch การยืดกล้ามเนื้อคอ

  • การยืดกล้ามเนื้อคอ
  • เอียงคอไปด้านข้าง (เคลื่อนหัวให้หูไปเข้าใกล้ไหล่)
  • ค้างไว้ 15 วินาที
  • ผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำอีกข้าง

  1. Diagonal Neck Stretch การยืดกล้ามเนื้อคอ

  • หน้าตั้งตรง ค่อยๆก้มหน้ามองกระเป๋า
  • ค้างไว้ 15 วินาที
  • ผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำข้างละ 3 ครั้ง
  1. Shoulder Shrug ขยักไหล่

  • ขยับไหล่ขึ้นเข้าหาหูค้างไว้ 3 วินาที
  • หมุนหัวไหล่
  • ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  1. Executive Stretch

  • นั่ง มือประสานไว้หลังศีรษะ
  • ดึงข้อศอกไปข้างหลังให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • หายใจเข้าลึกๆ เอนตัวไปข้างหลัง
  • ค้างไว้ 20 วินาที
  • หายใจออกและผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำอีกหนึ่งครั้ง
  1. Foot Rotation ป้องกันโรคชั้นประหยัด

  • ขณะนั่ง หมุนข้อเท้าช้าๆ ทำซ้ำไปในทิศทางตรงกันข้าม
  • ทิศทางหนึ่งให้หมุน 3 ครั้ง
  • เท้าอีกข้างก็ทำเช่นเดียวกัน
  • ทำข้างละ 2 ครั้ง

  1. Wrist Stretch เหยียดข้อมือ

  • แขนเหยียดตรงไปข้างหน้า
  • ดึงมือเข้าหาตัวด้วยมืออีกข้าง ทั้งดึงขึ้นและดึงลง
  • ค้างไว้ 20 วินาที
  • ผ่อนคลาย
  • ทำซ้ำข้างละ 3 ครั้ง
  1. การนวดมือ 
  • ขณะนั่งปล่อยมือข้างลำตัว สลัดมือลงอย่างช้า ทำบ่อยๆ
  • นวดผ่ามือด้วยนิ้วมือทั้งด้านในและด้านนอก ควรนวดก่อนทำงาน
  • นวดนิ้วมือโดยนวดจากโคนนิ้วไปเล็บ
แหล่งที่มา  
http://siamhealth.net/public_html/Health/good_health_living/computer/exercise.htm#.UiMnf9LwnCB

อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์

   อาหารดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพฉันใด อาหารบำรุงสายตาก็มีความจำเป็นต่อสุขภาพสายตาที่ดีฉันนั้น การมองเห็นเป็นสิ่งที่วิเศษสุดของคนเรา สุขภาพสายตาควรได้รับการดูแลอย่างดี
ด้วยการใช้ดวงตาอย่างทะนุถนอมและรู้จักดูแลบำรุงรักษาสายตาด้วยการเลือกกินอาหารที่มีสารอาหารและวิตามินบำรุงสายตา
   อาหารบำรุงสายตา จะมีวิตามินเอ สารอาหารที่ชื่อว่า ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารอาหารสำคัญในอาหารบำรุงสายตา วิตามินเอจะได้จากอาหารจำพวก ตับไก่ ตับหมู ไข่แดง ฟักทอง ฯลฯ สำหรับสารอาหารลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin) นั้นเหมาะสำหรับคนที่ห่วงใยสุขภาพสายตาอย่างจริงจังและคนที่ทำงานโดยใช้สายตามากเช่น คนที่ต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆในแต่ละวันหรือต้องทำงานอยู่กลางแจ้งที่มีแสงแดดจ้า คนที่ต้องขับรถกลางคืนบ่อยๆที่มักจะถูกแสงไฟรถที่วิ่งสวนมาสาดเข้าตาบ่อยๆในลักษณะเดียวกับแสงไฟแฟลชจากกล้องถ่ายรูปทำให้สายตาต้องทำงานหนักเมื่อเจอแสงสว่างในลักษณะนี้
   สารอาหารลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin)นั้นจะอยู่ในจุดรับภาพของดวงตาคนเรา สารอาหารทั้งสองตัวนี้จะช่วยกรองแสงหรือป้องกันรังสีที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตา นอกจากนี้ลูทีน(Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin)ยังช่วยปกป้องไม่ให้เซลล์ของจอประสาทตาถูกทำลาย ดังนั้นการบำรุงรักษาสายตาทำได้โดยรู้จักเลือกกินอาหารที่มีสารลูทีน(Lutein)และซีแซนทีน(Zeaxanthin)อยู่เพื่อประโยชน์ในการบำรุงสายตา
  อาหารที่มีลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน(Zeaxanthin) ที่ช่วยบำรุงสายตาได้แก่อาหารจำพวกพืชผักผลไม้ที่มีสีเขียวเข้มและสีเหลืองเช่น ผักคะน้า ผักปวยเล้ง ผักโขมและข้าวโพด สารอาหารที่จำเป็นในการบำรุงสายตาควบคู่ไปกับลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin)ก็คือวิตามินเอที่ได้จากอาหารจำพวกฟักทอง
แครอท ผักตำลึง ตับหมู มะละกอ มะม่วงสุก
ผักบุ้ง ฯลฯ นอกจากนี้สารอาหารทั้งสองตัวนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจก(Cataracts) โรคกระจกตาเสื่อม(AMD) มะเร็งเต้านมและโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย
  การดูแลรักษาสุขภาพดวงตาให้มีสุขภาพดี นอกจากจะรู้จักเลือกกินอาหารบำรุงสายตาที่มีสารลูทีน (Lutein) ซีแซนทีน (Zeaxanthin) และวิตามินเอแล้วยังมีสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพของสายตานั่นคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สายตาในการทำงานเช่น ใช้แผ่นกรองแสงกับจอคอมพิวเตอร์และปรับลดระดับแสงสว่างจากจอคอมพิวเตอร์ให้พอเหมาะอย่าให้สว่างจ้ามากเกินไป เมื่อทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆเป็นเวลานานให้รู้จักหยุดพักสายตาบ้างสัก 3-5 นาทีแล้วค่อยกลับไปทำงานต่อ เมื่อต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานานควรสวมแว่นกันแดดเพื่อลดปริมาณแสงที่จะเข้ามายังตาของเรา
  อาหารบำรุงสายตาช่วยให้ดวงตาได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตาและการปรับพฤติกรรมการทำงานที่ต้องใช้สายตามากๆจะเป็นการป้องกันและช่วยถนอมรักษาดวงตา หากทำทั้งสองอย่างไปพร้อมกันก็เหมือนกับการบำรุงรักษาสายตาจากภายใน (กินอาหารบำรุงสายตา) และป้องกันอันตรายรบกวนกับสายตาจากภายนอก (ปรับพฤติกรรมการใช้สายตา) ซึ่งจะมีผลช่วยถนอมและรักษาดวงตาให้อยู่กับเราไปได้อีกนานเท่านาน








การดูแลสุขภาพดวงตา กับการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์

ชีวิตที่รีบเร่งอาจทำให้เพื่อนๆ ต้องทำงานต่อเนื่องให้เสร็จเร็วๆ
การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานนน ต้องใช้สายตามาก
ไม่ใช่แค่ทำงานนะคะ เล่นเกมส์หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือหน้าจอทีวีก็เช่นกัน …
กิจกรรมดังที่บอกมาแล้ว ส่งผลเสียต่อสุขภาพของดวงตาค่ะ
หากหลีกเลี่ยงการจ้องมองหน้าจอนานๆ ไม่ได้ วิธีป้องกันก็พอมี
ง่ายๆ แค่ 5 เทคนิคเพื่อดูแลสุขภาพดวงตาของเพื่อนๆ ดังนี้ค่ะ
ข้อ 1. ทุก 1 ชั่วโมงของการทำงานหน้าจอ ควรพักสายตาด้วยการทำอะไรก็ได้
ที่..ไม่ต้องมองใกล้ๆ ในระยะ 1-2 ฟุต (เช่น มองออกไปในสนามหญ้า) พยามยามมองสีเขียวของใบไม้ใบหญ้า
ประมาณ 5-10 นาที จะลดการเพ่งของสายตา และช่วยคลายอาการปวดเมื่อยล้าดวงตาได้
ข้อ 2. ไม่ควรมีแสงสว่างมากที่ด้านหลังจอ เพราะจะรบกวนการมองจอ
เช่นไม่ควรตั้งจอตรงกับหน้าต่าง (ด้วยเหตุนี้เน็ตบุคสีขาวของบางยี่ห้อจึงมีกรอบจอสีดำ)
ข้อ 3. ศีรษะควรอยู่สูงกว่าจอสักเล็กน้อย จะได้ไม่ต้องเงยหน้ามองคอมพิวเตอร์
หรือเหลือกตามองสูงขึ้นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งทำให้เมื่อยล้าได้ง่าย และเพื่อนๆ คงไม่อยาก
ให้ใครมองมาเห็นว่านั่งตาเหลือกอยู่หน้าจอนะคะ มันดูไม่เท่หรอกค่ะ
ข้อ 4. อาการปวดล้าดวงตา อาจเกิดจากการที่เพื่อนๆ มีปัญหาสายตา
เช่น สายตาเอียง สายตาสั้น และสายตายาว ให้ไปตรวจวัดสายตาดู
หากพบว่าสายตาผิดปกติ ให้ตัดแว่นมาใส่จะช่วยแก้ปัญหาได้
ข้อ 5. ถ้ามีอาการตาแห้ง เช่น แสบตา หรือเคืองตา ให้กะพริบบ่อยขึ้น
เพื่อกวาดน้ำตามาเคลือบผิวตา หรือพักการใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะ
ถ้ายังมีอาการมาก ใช้น้ำตาเทียมหยอดตาจะช่วยบรรเทาอาการได้
แต่ถ้าไม่ดีขึ้น เพื่อนๆ อาจจะเป็นโรคอื่นให้ไปพบจักษุแพทย์
เพื่อทำการตรวจรักษาแต่เนิ่น ๆ นะคะ
ดวงตาของพวกเรามีคู่เดียวงอกใหม่ไม่ได้ พึงรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานกับตัวเราไปนานๆ นะคะ
ด้วยความปรารถนาดี เคยได้ยินเพลงตอนเด็ก “หูไม่หนวก ตาไม่บอด นับว่ายอด ของคนเรา”
ดูแลสุขภาพตา

ภัยเทคโนโลยีต่อสุขภาพ

            ปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย ทั้งเล่นเกม พิมพ์งาน เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แต่เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาไม่หยุดนิ่ง กิจกรรมข้างต้นสามารถทำผ่านช่องทางอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แน่นอนว่า อุปกรณ์ที่ทันสมัยหากใช้ไม่ถูกต้องเหมาะสม แทนที่จะเกิดประโยชน์ ก็อาจเกิดโทษได้

เริ่มจาก นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ รพ.พระนั่งเกล้า กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การทำกิจกรรมอะไรก็ตามเกี่ยวกับเทคโนโลยีจอใหญ่ จอเล็ก ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต การนั่งนาน ๆ จ้องนาน ๆ ไม่พ้นเป็นภาระดวงตา นิ้ว มือ แขน ไหล่ หลัง ก้น และขา ไม่ว่าเด็ก วัยรุ่น เยาวชน วัยกลางคน ผู้สูงอายุ หลายคนจะฝืนเพื่อความอยากรู้ อยากเห็น ด้วยความเพลิดเพลินทางอารมณ์ ต้องการรู้เหนือผู้อื่น ต้องการเป็นหนึ่งว่าข้าแน่ รู้ทุกอย่างที่คนอื่นไม่รู้ เพื่อจะเด่นในอาชีพ วิชาชีพของตนเอง จึงเป็นที่มาของโรคเงียบซึ่งเป็นภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผลกระทบด้านร่างกาย คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับดวงตา และโรคทางกล้ามเนื้อ กระดูก ซึ่งจะทำให้มีโรคประจำตัวไปจนกระทั่งแก่เฒ่า และทำให้เป็นทุกข์ตลอดชีวิต

โรคเกี่ยวกับดวงตา การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บ เล็ต เป็นเวลานาน ถ้าระดับที่วางความสว่างไม่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบต่อระบบของการกลอกตา ระบบกล้ามเนื้อและประสาท ซึ่งจะเกิดหลังจากใช้สายตานานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการดวงตาล้า ดวงตาตึงเครียด ตาช้ำ ตาแดง แสบ

ข้อแนะนำ คือ ควรใช้เวลาทำงานหรือเล่นกับคอมพิวเตอร์ 25–30 นาที ในแต่ละช่วงและพัก 1–5 นาที จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น วางคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากตาประมาณ 20–26 นิ้ว วางคีย์บอร์ดและเมาส์ให้อยู่ต่ำกว่าศอก แสงไฟไม่ควรส่องจากด้านหลัง ที่สำคัญไม่ควรส่องเข้าหาจอคอมพิวเตอร์ ควรปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้มีความสว่างเท่ากับความสว่างของห้อง ปรับความถี่ของคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับ 70–80 เฮิรตซ์ หรือปรับให้สูงสุดเท่าที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ยังรู้สึกสบายตา การใช้ตัวหนังสือควรใช้ตัวหนังสือสีดำบนพื้นสีขาว ใช้แผ่นกรองแสง และดูแลหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ให้มีฝุ่นเกาะติด เพื่อทำให้การมองเห็นชัดเจน ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์หรือเล่นเกม ส่วน สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ก็ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรพักสายตาเป็นระยะเช่นเดียวกัน

พญ.ดารณี สุวพันธ์ ผอ.ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงโรคทางกล้ามเนื้อ กระดูก ว่า การนั่งจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ หากนั่งในท่าไม่เหมาะสม หน้าจออยู่ต่ำกว่าระดับสายตา ต้องก้ม ๆ เงย ๆ อาจทำให้กระดูกคอเสื่อม กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ ปวดคอ ปวดบ่า ปวดข้อมือ ปวดนิ้วมือและปวดหลังได้ ที่พบบ่อย คือ อาการปวดคอ มีอาการตึงเมื่อย เพราะอยู่ในท่าเดียวนาน ๆ พบมากในคนที่ทำงานออฟฟิศต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ดังนั้นท่านั่งจึงมีความสำคัญ เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ต้องไม่ก้มหน้ามาก หน้าจอควรอยู่ในระดับสายตา ไม่อยู่ไกลสายตาจนเกินไป คีย์บอร์ดต้องอยู่ในระดับพอดี สูงกว่าเข่านิดหน่อย เพราะถ้าคีย์บอร์ดอยู่สูงเกินไป ต้องยกไหล่ขึ้น อาจทำให้ปวดเมื่อยได้

ส่วนการเล่นเกม อัพเดทข้อมูล บนสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หากอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานอาจทำให้ปวดคอ ปวดหลังได้เช่นกัน ส่วนการใช้นิ้วมือเป็นเวลานาน อันตรายส่วนนี้คงไม่มาก คือ อาจทำให้ปวดเมื่อยข้อ นิ้วมือ เท่านั้น

การรักษาคนไข้ที่มีอาการปวดหลัง ปวดคอ จะเริ่มจากซักประวัติซึ่งมักพบว่า สาเหตุมาจากท่านั่งไม่เหมาะสม ถ้าอาการไม่รุนแรงจะแนะนำวิธีปฏิบัติตัว ปรับเปลี่ยนท่านั่ง ไม่ควรนั่งนานเกิน 30 นาที ถ้าเกินกว่านี้ควรพักลุกขึ้นมายืน ขยับตัว ขยับเอว และหลัง ปรับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ในกรณีที่มีอาการปวดมาก ต้องให้ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาต้านการอักเสบ ถ้ากลับไปแล้วยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เนื่องจากความเคยชิน หรือมีอาการมานาน อาจถึงขั้นต้องทำกายภาพบำบัด ซึ่งในคนมีอาการมานานแล้วการรักษาจะยุ่งยากขึ้น แต่ถ้าเพิ่งเริ่มมีอาการแล้วมาพบแพทย์เร็วการรักษาจะง่ายโดยแก้ที่ต้นเหตุ
   
“คนอายุน้อย ๆ ที่มาพบแพทย์  20-30% มักมีปัญหาจากการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ส่วนใหญ่ถ้ามาพบแพทย์เร็วก็จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนท่าทาง ปรับเปลี่ยนนิสัย และจัดวางอุปกรณ์ให้เหมาะสม

ด้าน พญ.สุธีรา ริ้วเหลือง จิตแพทย์ กลุ่มงานจิตเวช สาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น รพ.พระนั่งเกล้า กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงผลกระทบด้านจิตใจว่า การใช้คอมพิวเตอร์ สมาร์ท โฟน แท็บเล็ต มีทั้งด้านดีและไม่ดี ด้านดี คือ ได้เปิดความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น เกิดกระบวนพัฒนาได้อย่างรวดเร็วทันใจ สะดวกในการค้นคว้าข้อมูล ได้สังคมเพิ่มขึ้น ทำให้มีการพัฒนาของสมอง เกิดการแก้ไขปัญหา พัฒนากระบวนการเรียนรู้ ฝึกการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วและมีมาตรฐาน

ด้านไม่ดี คือ ใช้ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ควบคุมไม่ได้ ตัวหมอจะห่วงเด็กหลายคนที่ยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ เด็กจะใช้สิ่งเหล่านี้ในการเล่นเกม ค้นหาอะไรที่ไม่เหมาะสมกับวัย เช่น เรื่องเซ็กซ์ ที่สามารถรับรู้หรือเห็นข้อมูลได้ทันที หรือสามารถเห็นหน้ากันได้ แสดงออกได้เต็มที่ แบบไร้ขอบเขต ผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ สไกด์ นำไปสู่ปัญหาการมีเซ็กซ์ก่อนวัยอันควร และมีเรื่องยาเสพติดเข้ามาเกี่ยวข้อง

คือเด็กที่ใช้บ่อยอาจจะเก่งคอมพิวเตอร์ เก่งเรื่องเทคโนโลยี แต่อาจจะมีปัญหา เรื่องอารมณ์ ความก้าวร้าว หุนหันพลันแล่น ขาดการยับยั้งชั่งใจ เพราะไม่เคยถูกฝึก มีปัญหาติดเกม การเรียนตกต่ำ เล่นเกมมากก็มีอารมณ์ เล่นแพ้ก็หงุดหงิด ยิ่งในปัจจุบันเกมมีมากขึ้น รูปแบบค่อนข้างเหมือนจริง แม้จะมีการควบคุมแต่ระบบการควบคุมยังไม่ชัดเจน บางทีเด็กเล่นเกม พ่อแม่รู้ไม่เท่าทันก็ปล่อยลูก ซึ่งความจริงการเล่นเกมที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เด็กเป็นคนที่ไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีความรับผิดชอบ

เราไม่ได้ต่อต้านการเล่นเกม แต่การเล่นต้องมีกฎกติกา ก่อนที่พ่อแม่จะให้อะไรกับลูก ต้องรู้ว่าลูกรู้จักใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ มิฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะกลับมาทำร้ายตัวเด็กและครอบครัว ดังนั้น ก่อนซื้ออะไรให้ลูก ควรพูดคุยและทำข้อตกลงให้ชัดเจน เมื่อลูกทำผิดกฎกติกาที่คุยกันไว้ พ่อแม่จะต้องจริงจังกับกฎกติกาที่ตั้งไว้ ขณะเดียวกันก็ควรเป็นแบบอย่างสร้างวินัยในการเล่นเกมให้กับลูก ไม่ใช่ห้ามลูกเล่นแต่พ่อแม่เล่นเอง แต่ที่ผ่านมาพ่อแม่ไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้

กรณีที่เป็นผู้ใหญ่จะแตกต่างจากเด็ก เพราะผู้ใหญ่สามารถแบ่งเวลาได้ แต่เด็กไม่รู้จักการแบ่งเวลา เลิกเรียนก็จะเล่นเกมอย่างเดียว ดังนั้นการเล่นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เล่นเกม ของผู้ใหญ่ถ้าไม่เสียการเสียงานคงไม่เป็นไร ผลที่ตามมา คงเป็นเรื่องพฤติกรรม ที่บางคนอาจเข้าสังคมเกินไป ในขณะที่บางคนอาจแยกตัวออกมา แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงเห็นได้ชัด คือ รูปแบบของสัมพันธภาพจากเดิม การพูดคุย แบ่งปันความรู้สึก ต้องเห็นหน้ากัน แสดงสีหน้าท่าทาง นับวันจะน้อยลง


ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไรจึงจะปลอดภัย

ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไรจึงจะปลอดภัย (สภากาชาดไทย)


คอมพิวเตอร์


          ผู้มีอาชีพที่จะต้องนั่งอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวัน มักจะเกิดปัญหากับสุขภาพหลายอย่าง ทั้งสายตา ปวดคอ ปวดหลัง

          ปัญหาทางสายตาเป็นเรื่องใหญ่  ใครที่นั่งจ้องจอคอมฯ นานกว่า 3 ช.ม. ติดต่อกัน จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า สายตาจะพร่า อาจปวดกระบอกตา แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล  

วิธีแก้ปัญหา

           1. ควรตั้งจอคอมพิวเตอร์ให้ห่างอย่างน้อย 2 ฟุต ในระดับสายตาตรงหน้าพอดี  

           2. เลือกจอภาพที่มีการกระจายรังสีต่ำ รู้ได้โดยเวลาดับเครื่องไฟฟ้าสถิตจะมีน้อย ถ้ามีมากเอามือไปอังใกล้ ๆ หน้าจอ ขนจะลุก

           3. ปรับแสงให้พอรู้สึกสบายตา อาจใช้แผ่นกรองแสงสวมหน้าจอจะช่วยได้ ไฟแสงสว่างด้านหลังอาจทำให้เกิดภาพสะท้อนที่จอทำให้สายตาเสียได้  

           4. ทำความสะอาดจอภาพของคอมพิวเตอร์เสมอ

           5. ควรพักสายตาบ้าง ไม่ควรทำคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานเกิน 1-2 ช.ม. ควรพักสายตาสัก 15 นาที หรืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหมาด ๆ ปิดตาไว้ 2-3 นาที จะช่วยได้มาก

           6. พวกใช้คอนแทคเลนส์ ควรหยอดน้ำตาเทียมบ่อย ๆ



ปวดคอ


ปัญหาปวดคอ ปวดบ่า ปวดไหล่ แก้ไขโดย

           1. ตั้งจอตรงหน้าพอดีไม่สูง ไม่ต่ำ ไม่เอียงซ้าย หรือขวา

           2. คีย์บอร์ดและเม้าส์ควรอยู่ระดับเอวหรือระดับหน้าตักพอดี เพราะถ้าอยู่สูงกว่านี้เวลาใช้คีย์บอร์ดและเม้าส์นาน ๆ ไหล่จะค่อย ๆ ยกสูงขึ้นโดยอัตโนมัติ เพื่อให้แขนและมือจะได้ทำงานถนัด แต่การยกไหล่ขึ้นนาน ๆ กล้ามเนื้อที่ยกไหล่จะล้า ปวดเมื่อยได้ ปวดตั้งแต่ไหล่ บ่า ถึงคอ

           3. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม.

ปวดหลัง

ปัญหาปวดหลัง แก้ไขโดย

           1. ขณะนั่งทำคอมพิวเตอร์ควรนั่งเก้าอี้ที่สูงพอดี เท้าวางบนพื้นได้เต็มเท้า ถ้าสูงเกินไปจนเท้าลอย หรือถ้าต่ำเกินไป ก้นจะจ่อมอยู่บนที่นั่ง ทำให้เมื่อยบริเวณก้นได้  

           2. เวลานั่งต้องเลื่อนตัวให้นั่งชิดพนักพิง ไม่ใช่นั่งอยู่แค่ครึ่งที่นั่งของเก้าอี้  

           3. หลังจะต้องพิงพนักเก้าอี้อยู่ตลอดเวลา โดยพนักพิงทำมุมกับที่นั่ง ไม่เกิน 100 องศา

           4. ต้องพักการทำคอมพิวเตอร์ ทุก 1-2 ช.ม. 
แหล่งที่มา http://health.kapook.com/view30686.html


วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและSocial Network

ในปัจจุบันการใช้ Social Network นับเป็นการสื่อสารหรือสังคมออนไลน์ที่เริ่มมีความนิยมมากขึ้น ดังนั้นการใช้สื่อหรือเครื่องมือในการสื่อสารประเภทนี้  จึงต้องให้ความสำคัญและควรตระหนักอยู่เสมอถึงความระมัดระวังในการใช้ Social Network  ว่าเราควรใช้กันอย่างไรถึงจะปลอดภัย 
- ไม่ควรระบุข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป 
      ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญเหล่านี้ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการระบุตัวตนที่สำคัญอันหนึ่งทีเดียว ควรพึงระวังอย่างยิ่ง หากเราเปิดเผยข้อมูลมากเท่าไหร่ ภัยร้ายก็จะเข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นเท่านั้น อีกเรื่องที่สำคัญคือการระบุ วันเดือน ปี เกิด ทำให้เด็ก ๆ วัยรุ่นที่มีอายุน้อย ๆ ก็จะสามารถถูกล่อลวงได้ง่ายและเป็นจุดที่มิจฉาชีพสนใจ
- ไม่ควร post ข้อความที่ชี้ชวนให้มิจฉาชีพเข้าถึงเรา 
       เช่น บอกสถานะว่าไม่อยู่บ้านวันไหน เมื่อไหร่ เมื่อไรก็ตามที่จะเดินทางไปพักผ่อนไม่ว่าไกลแค่ไหน ก็ไม่ควรบอกข้อมูลล่วงหน้า ซึ่งอาจทำให้ผู้ไม่หวังดีอาจวางแผนมาทำร้ายบุคคล หรืออาจวางแผนมาขโมยทรัพย์สินเราได้  และถือเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจให้มิจฉาชีพที่ไม่หวังดีกับเราติดตามพฤติกรรมของเราได้ 
- ไม่ควร post หรือเผยแพร่ข้อความ รูปภาพ วีดีโอที่ทำให้ผุ้อื่นเสียหาย 
       เช่น ภาพหลุด คลิปหลุด หรือโพสรูปภาพที่สื่อถึงสิ่งอบายมุขต่างๆ ไม่ควรใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด เสียดสี ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม รวมทั้งไม่ควรโพสต์รูปภาพ ภาพถ่าย วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร ลงใน Social Network 
- ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นส่วนตัว หรือที่ทำงาน 
       เรื่องเงินทองถือเป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญ ไม่ว่าใครก็ต้องการโดยเฉพาะผู้ที่ไม่หวังดี ดังนั้นข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินเงินทอง ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมการเงินของตัวเอง หรือที่ทำงานก็ตาม จึงไม่ควรเปิดเผยสู่สาธารณะ เพราะอาจจะนำภัยร้ายมาสู่ตัวเองได้
- ไม่ควรไว้ใจหรือเชื่อใจคนที่รุ้จักผ่านอินเทอเน็ต 
    เนื่องจากมีตัวอย่างการที่โดนล่อลวงผ่านการรุ้จักผ่าน Social Network หรือถูกหลอกเรื่องการซื้อขายผ่าน internet ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อของคุณ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่บ้าน หรือชื่อสถานศึกษาให้กับคนที่ไม่รู้จักหรือการไว้ใจ เชื่อใจคนแปลกหน้าที่รู้จักกันผ่านอินแทอร์เน็ตอาจเป็นอันตรายได้ เพราะอาจถูกหลอก หรือล่อลวงไปทำอันตรายได้ ดังนั้นไม่ควรไว้ใจบุคคลที่รู้จักทาง Social Network 

แหล่งที่มา 








สปายแวร์คอมพิวเตอร์ (Spyware)

สปายแวร์คอมพิวเตอร์ (Spyware) 
Spyware คือ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail --mlinkarticle--} Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย  และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของคุณอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป spyware อาจเข้ามาเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย 

วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ถูกโจมตีจากสปายแวร์
1.ติดตั้งโปรแกรม Anti-Spyware ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ Anti-Spyware ตรวจหา Spyware ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เเละเตือนให้เราทำการลบ
2.ไม่ดาว์นโหลดไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ
3.ตรวจ สอบ Update โปรแกรม Antivirus เนื่องจากปัจจุบันมีการสร้าง โปรแกรมประเภท Virus หรือ สปายแวร์ออกมาเผยแพร่ภายในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลาทำให้บางครั้ง หากการ Update หรือปรับปรุง {--mlinkarticle=2011--}antivirus program  หรือ Anti-Spyware อย่างไม่สม่ำเสมอหรือนานๆครั้ง ก็อาจถูกโจมตีจาก Virus หรือ Spyware ได้เช่นกัน

แหล่งที่มา
http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2030-spyware-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

Win 7 Anti-Spyware 2013 Virus Image

แหล่งที่มา http://www.spywarehelpcenter.com/th/win-7-anti-spyware-2013-virus-removal-instructions/

ม้าโทรจันคอมพิวเตอร์ (Trojan)

ม้าโทรจัน (อังกฤษTrojan horse) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แฮกเกอร์จะส่งโปรแกรมเข้าไปในคอมพิวเตอร์เพื่อดักจับข้อมูลดังกล่าว แล้วนำไปใช้ในการเจาะระบบ และเพื่อโจมตีคอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์, หรือระบบเครือข่ายอีกที ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการโจมตีเพื่อ "ปฏิเสธการให้บริการ" (Denial of Services)
โปรแกรมม้าโทรจัน ถือเป็นโปรแกรมที่สอดคล้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ไม่มีคำสั่งหรือการปฏิบัติการที่เป็นอันตรายต่อตัวคอมพิวเตอร์ จึงไม่ถือว่าเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์

หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm)

หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm)
 หนอนคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เวิร์ม(computer worm) หรือบางทีเรียกกันว่าเวิร์ม คือหน่วยย่อยลงมาจากไวรัสคอมพิวเตอร์ ปกติแล้ว หนอนคอมพิวเตอร์จะแพร่กระจายโดยไม่ผ่านการใช้งานของผู้ใช้ โดยมันจะคัดลอกและกระจายตัวมันเองข้ามเครือข่าย เช่น ระบบเครือข่าย หรือ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น หนอนคอมพิวเตอร์สามารถทำลายข้อมูลและแบนด์วิทสร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์รวมไปถึงการทำให้คอมพิวเตอร์หยุดทำงาน
แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
ไวรัส และหนอนคอมพ์

อันตรายที่เกิดจากหนอนคอมพิวเตอร์
หนอนคอมพิวเตอร์สามารถที่จะควบคุมความสามารถบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และสามารถที่จะส่งไฟล์หรือข้อมูลที่สำคัญของคุณไปสู่ผู้ที่ไม่หวังดี คู่แข่ง หรือใครก็ได้ ทำให้เกิดความเสียหายได้
การป้องกัน
1. ไม่เปิด ไฟล์ที่แนบมากับ อีเมล ที่ส่งมาจากผู้ที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร
2. ถึงไม้ว่าจะรู้ว่าผู้ส่งเป็นใคร ก็ไม่ควรเปิดไฟล์ที่แนบมาถ้าไม่แน่ใจว่าไฟล์ที่แนบมาเป็นอะไรกันแน่
3. ทำการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส
4. ทำการ อัปเดตข้อมูลไวรัสของโปรแกรมป้องกันไวรัสให้เป็นปัจจุบันตลอด
5. ติดตั้งตัวแก้ไขระบบปฏิบัติการ
6. ติดตั้งไฟร์วอลล์
แหล่งที่มา http://www.mahaphant.com/th/whats-new/mahaphant-blog-detail.jsp?blogid=98

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus)

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus)
ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อก่อกวนทำลายระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น แผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ และเป็นโปรแกรมที่สามารถกระจายจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกตัวหนึ่งได้โดยผ่านระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ เช่น โดยผ่านทาง แผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette) หรือระบบเครือข่ายข้อมูล
        อาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พอจะคาดคะเนได้ว่าติดไวรัส
  • การทำงานของคอมพิวเตอร์ช้ากว่าปกติ
  • คอมพิวเตอร์หยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ข้อมูลหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ส่งเสียง หรือข่าวสารแปลกออกมา
  • ไดร์ฟ หรือฮาร์ดดิสก์หยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ไฟล์ในแผ่นดิสก์ หรือฮาร์ดดิสก์ถูกเปลี่ยนเป็นขยะ 

     ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ (แบ่งตามวิธีการติดต่อ)
  • boot sector viruses จะ copy ตัวมันเองลงบน แผ่น diskette และลงบน boot sector ของ hard disk (boot sector คือตำแหน่งที่เก็บคำสั่งที่จำเป็นต้องใช้เวลาเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์) เมื่อเราเปิด หรือreboot เครื่องคอมพิวเตอร์ boot sector viruses ติดต่อได้เพียงจากแผ่น diskette เท่านั้น แต่จะไม่ติดต่อเวลาใช้ไฟล์หรือโปรแกรมร่วมกัน ทุกวันนี้ boot sector viruses ไม่แพร่หลายเหมือนแต่ก่อน เพราะส่วนมากเดี๋ยวนี้เราจะ boot เครื่อง คอมพิวเตอร์จาก hard disk เป็นส่วนใหญ่
  • program viruses จะติดต่อกับ executable files ซึ่งได้แก่ไฟล์ที่ลงท้ายด้วย .COM หรือ .EXE และยังสามารถติดต่อไปยังไฟล์อื่นๆซึ่งโปรแกรมที่ลง ท้ายด้วย .COM หรือ .EXE เรียกใช้ ไฟล์เหล่านี้ได้แก่ ไฟล์ที่ลงท้ายด้วย .SYS, .DLL, .BIN เป็นต้น
  • macro viruses จะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็น ต้นแบบ (template) ในการสร้างเอกสาร (documents หรือ spreadsheet) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสารติดไวรัสแล้ว ทุกๆ เอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้นจะเกิดความเสียหายขึ้น

     6 วิธีในการป้องกันไวรัส
       แม้ว่าจะมีไวรัสหลายพันชนิด แต่ไวรัสส่วนใหญ่อยู่ในห้องทดลองคอมพิวเตอร์ มีไวรัสเพียงประมาณ 500 กว่าชนิดที่ยังอาละวาดอยู่ และส่วนใหญ่ไวรัสเหล่านี้แทบจะไม่มีอันตรายต่อคอมพิวเตอร์และข้อมูล เพียงแต่อาจจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงด้วยการแย่งใช้หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามมีวิธีง่ายๆ 6 วิธีที่จะช่วยป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์และข้อมูลจากไวรัส
  • ใช้โปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัส (anti-virus) อย่างไรก็ตามไม่มีโปรแกรมตรวจจับและกำจัดไวรัส โปรแกรมใดสมบูรณ์แบบ การเตือนที่ผิดพลาดว่ามีไวรัสก่อให้เกิดความรำคาญพอๆกับตัวไวรัสเอง อย่าลืมว่าจะต้อง update โปรแกรมที่ใช้ตรวจจับและกำจัดไวรัสอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ครอบคลุมถึงไวรัสชนิดใหม่ๆ
  • scan ทุกไฟล์บนดิสเกตต์และ CD-ROM ก่อน นำลง hard disk
  • scan ทุกไฟล์ที่ download มาจาก internet
  • scan ไฟล์หรือโปรแกรมที่ติดมากับ e-mail ก่อนที่จะเปิดอ่านหรือเก็บลงบน hard disk
  • เก็บเอกสารในรูปของ ASCII Text Mode หรือ Rich Text Format (RTF) โดยเฉพาะเอกสารที่ใช้ ร่วมกันบน network ทั้งสอง format จะไม่ save ส่วนที่เป็น macro ลงพร้อมกับเอกสารด้วยซึ่งทำให้ ปลอดภัยจาก macro viruses
  • back up ข้อมูลและโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญอย่าเก็บ back up ไว้ใน hard disk อันเดียวกันกับข้อมูลและโปรแกรมจริง
แหล่งที่มา http://www.dld.go.th/ict/article/virus/v12.html

อธิบายบริการจาก Google และยกตัวอย่าง (10 บริการ)

บริการจาก Google และยกตัวอย่าง (10 บริการ)

Froogle 
http://www.froogle.com/ 
Hello http://www.hello.com/ 
Orkut http://www.orkut.com/ 
Picasa http://picasa.google.com/ 
SketchUp http://www.sketchup.com/ 
Writely http://www.writely.com/
Google AdWords https://adwords.google.com/select/ 
Google AdSense https://www.google.com/adsense/ 
Google Analytics http://google.com/analytics/ 
Google Answers http://answers.google.com/ 

อธิบาย Social Network และยกตัวอย่าง WebหรือApplication (10 ตัวอย่าง)

Social Network หรือ เครือข่ายสังคม (ชุมชนออนไลน์) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมลล์ วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก
............... การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติ    พลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย
............... Social Network เป็นเครือข่ายความสัมพันธ์เสมือนที่ตอบสนองกับการสร้างสายสัมพันธ์ โยงใยให้เราได้เจอบุคคลที่คุยกันในเรื่องที่สนใจได้อย่างคอเดียวกัน สามารถเชื่อมโยงเพื่อนของเรา เข้ากับเพื่อนของเขา สามารถสร้างสรรค์สังคมใหม่ๆให้กับทุกคน สามารถเชื่อมโยงการสื่อสารภายในองค์กร และภายนอกองค์กรเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตอบสนองรูปแบบชีวิตของมนุษย์ยุคปัจจุบันนั่นเองครับ โดยภาพรวม Social Network เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารกับองค์กรจากปากคำของเราเองได้เป็นอย่างดี ผู้บริหารองค์กรขนาดใหญ่จะสามารถสื่อสารกับคนในองค์กรของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องประสบปัญหาการบิดเบือนข้อความ หรือการสื่อสารที่ตกหล่นอีกต่อไป ครูอาจารย์สามารถให้แง่คิดหรือสิ่งละอันพันละน้อยแก่ลูกศิษย์ได้โดยไม่จำเป็นต้องรอให้พูดกันทีเดียวคราวละยาวๆ นักวิจัยอาจพบอะไรที่น่าสนใจแล้วสื่อสารให้รู้กันทุกคนในเครือข่ายเดียวกันได้ทันทีเพื่อให้ทีมรับรู้สิ่งน่าสนใจไปพร้อมๆกัน
                
 

1.Hi5
2.Facebook
3.MySpace.com
4.twitter
5.Friendster
6.Orkut
7.Bebo
8.Multiply
9.Flickr
10.Odoza


อธิบาย Homepage/ Webpage /Website /Web Browser



Homepage โฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีกด้วย

Home page คืออะไร โฮมเพจ คือ หน้าแรกของเว็บไซต์

แหล่งที่มา http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2089-home-page-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

     Webpage  คือ สารสนเทศ หรือเอกสารที่อยู่บน อินเตอร์เน็ต  Web Page จะเขียนด้วยภาษา  HTML(Hyper Text Markup Language) ซึ่งจะกำหนดให้ มีเนื้อหาและรูปแบบต่างๆ   เช่น    ข้อความ   รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบ   (video  &  audio files)  hypertext links   เป็นต้น


web-site-building-for-beginners-1_www-and-mouse_s600x600
แหล่งที่มา http://ngneservice.wordpress.com/2009/09/29/web-page-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/

Website เว็บไซต์ (Web Site) คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน ตามหลักคำว่า เว็บไซต์จะใช้สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของตนเองเรียบร้อยแล้วเช่น www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้น
ออกแบบเว็บไซต์
แหล่งที่มา http://panyaras.blogspot.com/2010/05/web-site-web-page-home-page-links-www.html

แหล่งที่มา http://www.maximumdev.com/What-we-do/Web-solution/web-design.html

Web Browserเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประโยชน์ของ Web Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web pageแหล่งที่มา http://www.mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/66-server-hosting/1849-web-browser-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-web-browser-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD.html

Web browser icons
แหล่งที่มา http://itsecurity.vermont.gov/threats/web_attacks


การใช้งานทั่วไปของ Email

อีเมล (ชื่อย่อของ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์) เป็นวิธีที่รวดเร็วและสะดวกในการติดต่อกับผู้อื่น คุณสามารถใช้อีเมลในการ
  • ส่งและรับข้อความ คุณสามารถส่งข้อความอีเมลไปให้บุคคลใดก็ได้ที่มีที่อยู่อีเมล ข้อความนั้นจะเข้าไปอยู่ในกล่องอีเมลขาเข้าของผู้รับภายในไม่กี่วินาทีหรือไม่กี่นาที ไม่ว่าเขาหรือเธอจะเป็นเพื่อนบ้านที่อยู่หลังถัดไป หรือใครก็ตามที่อยู่ไกลถึงครึ่งค่อนโลก คุณสามารถรับข้อความจากบุคคลใดก็ตามที่ทราบที่อยู่อีเมลของคุณ จากนั้นคุณก็อ่านแล้วตอบกลับข้อความเหล่านั้น
  • ส่งและรับแฟ้ม นอกจากข้อความอีเมลที่เป็นข้อความทั่วไปแล้ว คุณยังสามารถส่งแฟ้มชนิดใดก็ได้เกือบทุกชนิดในข้อความอีเมล รวมทั้งเอกสาร รูปภาพ และเพลง แฟ้มที่ส่งมาในข้อความอีเมลเรียกว่า สิ่งที่แนบมา
  • ส่งข้อความไปยังกลุ่มบุคคล คุณสามารถส่งข้อความอีเมลไปให้ผู้รับหลายคนพร้อมกัน ในขณะที่ผู้รับสามารถตอบกลับไปยังกลุ่มทั้งกลุ่มได้ ซึ่งทำให้เกิดการอภิปรายกลุ่ม
  • ส่งต่อข้อความ เมื่อคุณได้รับข้อความอีเมล คุณสามารถส่งต่อไปให้ผู้อื่นได้โดยไม่ต้องพิมพ์ข้อความนั้นใหม่
ข้อดีอย่างหนึ่งของอีเมลเมื่อเปรียบเทียบกับโทรศัพท์หรือจดหมายทั่วไปก็คือความสะดวกในการใช้งาน คุณสามารถส่งข้อความในเวลาใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน ถ้าผู้รับไม่อยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์หรือไม่ได้ ออนไลน์ (เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต) ในขณะที่คุณส่งข้อความ ผู้รับจะพบอีเมลรออยู่ในเวลาต่อมาที่ตรวจสอบอีเมล ในกรณีที่ผู้รับออนไลน์อยู่ คุณอาจได้รับการตอบกลับภายในไม่กี่นาที
นอกจากนี้ การส่งอีเมลยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ด้วย ซึ่งต่างกับการส่งจดหมายทั่วไป เพราะการส่งอีเมลไม่จำเป็นต้องมีแสตมป์หรือเสียค่าธรรมเนียม และไม่ต้องกังวลว่าผู้รับจะอยู่ที่ใด ค่าใช้จ่ายที่คุณต้องจ่ายมีเพียงค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือโปรแกรมอีเมลบางโปรแกรมเท่านั้น

ฉันต้องมีสิ่งใดบ้างก่อนที่จะใช้อีเมลได้

เมื่อต้องการใช้อีเมล คุณจำเป็นต้องมีสามสิ่งดังต่อไปนี้
  • การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เมื่อต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต คุณต้องลงทะเบียนกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งโดยปกติแล้วจะคิดค่าธรรมเนียมเป็นรายเดือน นอกจากนี้คุณยังต้องมีโมเด็ม ด้วย ดูที่ ฉันต้องมีสิ่งใดบ้างในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
  • โปรแกรมอีเมลหรือบริการอีเมลบนเว็บ คุณสามารถดาวน์โหลดหรือซื้อโปรแกรมอีเมลจาก Microsoft หรือผู้ให้บริการอื่น โปรแกรมอีเมลมักมีคุณลักษณะมากกว่า และทำการค้นหาได้รวดเร็วกว่าบริการอีเมลบนเว็บส่วนใหญ่ ก่อนที่คุณจะติดตั้งโปรแกรมอีเมล คุณต้องได้รับข้อมูลบางอย่างจาก ISP ของคุณดังต่อไปนี้ โดยทั่วไปคือ ที่อยู่อีเมล รหัสผ่าน ชื่อของเซิร์ฟเวอร์อีเมลขาเข้าและขาออกของคุณ และรายละเอียดอื่นๆ บางประการ
    ถ้าคุณไม่ต้องการดาวน์โหลดหรือซื้อโปรแกรมอีเมล คุณก็สามารถลงทะเบียนกับบริการอีเมลบนเว็บที่ใช้งานได้ฟรี เช่น Gmail, Windows LiveHotmail หรือ Yahoo! Mail บริการเหล่านี้ช่วยให้คุณสามารถตรวจดูอีเมลด้วยเว็บเบราว์เซอร์ได้จากคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่เชื่อมต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต แม้ว่าคอมพิวเตอร์นั้นจะเป็นของบุคคลอื่นหรืออยู่ในสถานที่สาธารณะ เช่น ในห้องสมุด
  • ที่อยู่อีเมล คุณสามารถรับที่อยู่อีเมลจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตของคุณ (ISP) หรือจากบริการอีเมลบนเว็บเมื่อคุณลงทะเบียน ที่อยู่อีเมลประกอบด้วยชื่อผู้ใช้ (อาจเป็นชื่อเล่นที่คุณเลือกก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นชื่อจริงเสมอไป) เครื่องหมาย @ และชื่อของ ISP หรือผู้ให้บริการอีเมลบนเว็บ ตัวอย่างเช่น someone@example.com

    มารยาททางอีเมล

    การสื่อสารทางอีเมลมีแบบแผนของการปฏิบัติเช่นเดียวกับการสื่อสารแบบเผชิญหน้าและการสนทนาทางโทรศัพท์ แบบแผนเหล่านี้เรียกว่ามารยาททางอีเมล หรือ มารยาทในการใช้เครือข่าย ("netiquette" คือการรวมกันระหว่างคำว่า "Internet" และ "etiquette") เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ กรุณาปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้
    • กรุณาระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องตลกและอารมณ์ อีเมลไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้ดีนัก ดังนั้นผู้รับอีเมลอาจไม่เข้าใจสิ่งที่คุณตั้งใจจะบอก โดยเฉพาะเรื่องตลกเสียดสีต่างๆ จะมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากผู้รับอาจแปลความหมายเรื่องนั้นตามตัวอักษรและทำให้เกิดความขุ่นเคืองได้ เมื่อต้องการถ่ายทอดอารมณ์ ให้ลองใช้สัญรูปอารมณ์ (ให้ดู "การใช้สัญรูปอารมณ์" ในบทความนี้)
    • คิดก่อนที่คุณจะส่ง การเขียนและการส่งข้อความอีเมลเป็นเรื่องที่รวดเร็วและง่าย จนบางครั้งอาจง่ายเกินไป ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อความที่จะส่งเป็นสิ่งที่คุณได้คิดไว้ก่อนแล้ว และหลีกเลี่ยงการเขียนในขณะที่คุณกำลังโกรธ
    • เขียนในบรรทัดเรื่องให้ชัดเจนและกระชับ โดยสรุปเนื้อหาของข้อความเป็นคำสั้นๆ สักสองสามคำ ผู้ที่ได้รับอีเมลจำนวนมากจะสามารถใช้ชื่อเรื่องนี้ในการจัดลำดับความสำคัญของข้อความ
    • พยายามเขียนข้อความสั้นๆ ถึงแม้ว่าพื้นที่ข้อความจะไม่จำกัดความยาวของเนื้อความ แต่ในความเป็นจริงอีเมลออกแบบมาเพื่อการสื่อสารที่รวดเร็ว คนส่วนใหญ่จะไม่มีเวลาหรือความอดทนเพียงพอที่จะอ่านข้อความมากกว่าสองหรือสามย่อหน้า
    • หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ด้วยเหตุที่คนส่วนใหญ่รู้สึกว่าประโยคข้อความที่เขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดเปรียบเสมือนการ "ตะโกน" และเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกไม่พอใจหรือรำคาญ
    • กรุณาระมัดระวังข้อมูลที่เป็นความลับหรือข้อมูลสำคัญ ผู้รับอาจส่งต่อข้อความของคุณไปให้บุคคลอื่นๆ ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม
    นอกจากนี้ ในการสื่อสารที่เป็นทางการหรือการสื่อสารทางธุรกิจ ให้ระมัดระวังเรื่องตัวสะกดและข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์ เพราะอีเมลที่ขาดความระมัดระวังอาจสื่อถึงภาพพจน์ของความไม่เป็นมืออาชีพ ดังนั้นควรอ่านตรวจทานข้อความของคุณก่อนที่จะส่ง และหากโปรแกรมอีเมลของคุณมีตัวตรวจสอบการสะกด ให้ใช้ตัวตรวจสอบนั้น

    การจัดการกับอีเมลขยะ

    เช่นเดียวกับที่คุณอาจเคยได้รับโฆษณาที่ไม่ได้ร้องขอ ใบปลิว และแค็ตตาล็อกทางจดหมายตามปกติ คุณก็อาจจะได้รับอีเมลขยะ (มักเรียกว่า อีเมลที่ไม่พึงประสงค์) ในกล่องขาเข้าของคุณได้เช่นกัน อีเมลขยะรวมถึงการโฆษณา ข้อความหลอกลวง ภาพลามก หรือการเสนอสิทธิต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากสำหรับผู้ทำการตลาด การส่งอีเมลขยะจะเสียค่าใช้จ่ายที่ต่ำมาก จึงเป็นเรื่องปกติที่คนทั่วไปจะได้รับอีเมลประเภทนี้เป็นจำนวนมาก
    โปรแกรมอีเมลและบริการอีเมลบนเว็บหลายโปรแกรมมีตัวกรองขยะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวกรองเมลที่ไม่พึงประสงค์ (Spam) ตัวกรองเหล่านี้จะวิเคราะห์เนื้อหาของข้อความที่ส่งมาถึงคุณ และย้ายข้อความที่น่าสงสัยไปไว้ในโฟลเดอร์พิเศษสำหรับอีเมลขยะ ซึ่งคุณสามารถดูหรือลบอีเมลเหล่านี้เมื่อใดก็ได้ ถ้าข้อความของอีเมลขยะหลุดผ่านตัวกรองเข้ามาในกล่องขาเข้า โปรแกรมอีเมลหลายโปรแกรมอนุญาตให้คุณสามารถระบุให้ข้อความในอนาคตใดๆ ที่มาจากผู้ส่งรายนั้นถูกย้ายไปยังโฟลเดอร์ที่เก็บอีเมลขยะโดยอัตโนมัติได้
    เมื่อต้องการป้องกันอีเมลขยะ
    • ใช้ความระมัดระวังในการให้ที่อยู่อีเมลของคุณ หลีกเลี่ยงการประกาศที่อยู่อีเมลที่แท้จริงของคุณในกลุ่มข่าวสาร บนเว็บไซต์ หรือในพื้นที่สาธารณะของอินเทอร์เน็ต
    • ก่อนให้ที่อยู่อีเมลของคุณในเว็บไซต์ ให้ตรวจสอบคำชี้แจงสิทธิส่วนบุคคลของไซต์นั้นๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์นั้นไม่อนุญาตให้มีการเปิดเผยที่อยู่อีเมลของคุณแก่บริษัทอื่น
    • อย่าตอบกลับข้อความอีเมลขยะ ผู้ส่งอีเมลขยะจะทราบว่า ที่อยู่อีเมลของคุณถูกต้อง และอาจขายที่อยู่นั้นไปให้บริษัทอื่น ซึ่งจะทำให้คุณมีโอกาสที่จะได้รับอีเมลขยะมากขึ้นเรื่อยๆ